ระหว่างวันที่ 13-15 มกราคม 2554/2011 ที่เกาะลอมบอค (Lombok) ทางตะวันออกของเกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย อาเซียนมีการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโส (Senior Officials’ Meeting – SOM) คณะทำงาน และ และคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (Committee of Permanent Representatives to ASEAN - CPR) จากนั้นวันที่ 15-17 มกราคม ก็มีการประชุมอย่างเป็นกันเองของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Foreign Ministers Retreat) มีผลการหารือเรื่องหนึ่งที่รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนตกลงร่วมกันกลายเป็นข่าวสำคัญสำหรับวงการฟุตบอลอาเซียน นั่นก็คือ บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสิบเห็นพ้องต้องกันว่า อาเซียน ในฐานะภูมิภาคและประชาคมเดียวกัน ควรเสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกร่วมกัน ในปี ค.ศ. 2030 หรือภายในอีก 20 ปีข้างหน้า รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจะนำเสนอแผนงานโดยละเอียดอย่างเป็นทางการต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 18 ที่จาการ์ตา ระหว่างวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2554/2011 ต่อไปความคิดที่จะให้อาเซียนเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ปี 2030 ในนามภูมิภาคร่วมกันนี้เสนอเป็นครั้งแรกโดยมาเลเซีย ในที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ณ กรุงฮานอย เดือนกรกฎาคม ปีที่แล้ว (2553/2010) รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซีย (Anifah Aman) อาสาไปหารือกับองค์กรกีฬาแห่งชาติของ มาเลเซีย แล้วได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค (Najib Razak) ต่อมาในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนที่กัวลาลัมเปอร์ คุณกรณ์ จาติกวณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยก็ยกเรื่องการที่อาเซียนจะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกต่อที่ประชุมอีกครั้ง และได้รับการตอบรับสนับสนุนเป็นอย่างดีจากที่ประชุม
นายจอร์จ เยียว (George Yeo) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์เสนอให้มาเลเซียไปหารือต่อไปในการจัดทำรายละเอียดกับเลขาธิการอาเซียน (ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ) แล้วจะได้นำเสนอต่อผู้นำรัฐบาลในที่ประชุมสุดยอดอาเซียนในเดือนพฤษภาคม เพื่อการพิจารณาอนุมัติแผนงานต่อไป
บราซิลจะเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในปี 2014 ต่อด้วยรัสเซียในปี 2018 และ การ์ตาปี 2022 ส่วนเจ้าภาพในปี 2026 และ 2030 ยังมิได้มีการตัดสินเลือกประเทศใดเป็นเจ้าภาพจากนี้ไปสำนักเลขาธิการอาเซียนจะเริ่มศึกษารายละเอียด เชิญผู้เชี่ยวชาญมาหารือและวางยุทธศาสตร์เพื่อการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกต่อไป ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะต้องพบกับคู่แข่งขันเป็นขอเป็นเจ้าภาพรายสำคัญคือจีนซึ่งกำลังเตรียมแผนขอจัดฟุตบอลโลกในปี 2030 เช่นกัน แต่รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนก็มั่นใจว่าจากนี้ไปจนกว่าจะถึงปี 2030 อาเซียนจะมีความพร้อมสมบูรณ์ทุกด้านที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ทั้งด้านสนามจัดการแข่งขันที่จะกำหนดในอนาคตต่อไปว่าจะใช้สนามใดในประเทศใด จะสร้างสนามและอาคารสถานที่ที่เกี่ยวข้องอย่างไรที่ใด ตลอดจนการสร้างมาตรฐานการเล่นฟุตบอลในอาเซียนในอยู่ในระดับโลกสมารถแข่งขันกับทีมชาติชั้นนำของโลกได้อย่างสมภาคภูมิในอีก 20 ปีข้างหน้า
ในเรื่องความประสงค์ที่จะเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในนามอาเซียนร่วมเขตภูมิภาคเดียวกันนี้ เป็นความต้องการที่แน่นอนและแน่จริงของอาเซียนแล้วในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากผู้นำรัฐบาลรัฐสมาชิกอาเซียนบางประเทศแล้วอย่างไม่เป็นทางการ และมั่นใจได้ว่าจะได้รับการเห็นชอบเป็นทางการในที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเดือนพฤษภาคม 2011 นี้แน่นอน
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนกล่าวว่า :
“I am very pleased with the unprecedented level of enthusiasm across the ASEAN region, particularly amongst our sport communities, about the decision to explore ASEAN’s bid to host the 2030 World Cup,”
“We are still at an early stage of consultations and strategic discussion,...but the advice and opinions that have been generated are most valued, and we expect the debate to continue and widen because we really learn a great deal from the public exchange.”
“ผมยินดีมากที่พบว่ามีความตื่นตัวในเรื่องที่อาเซียนตัดสินว่าจะพยายามหาลู่มางแข่งขันขอเสนอตัวอาเซียนเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในปี 2030 อันเป็นความกระตือรือร้นกันทั่วภูมิภาคอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการกีฬาของอาเซียน”
“เรายังอยู่ในขั้นหารือกันเบื้องต้น ปรึกษากันในเชิงยุทธศาสตร์ และความเห็น คำแนะนำต่างๆที่มีมาในตอนนี้นับว่ามีค่าเป็นอย่างยิ่ง เราหวังว่าการพูดคุยถกเถียงกันในเรื่องนี้จะดำเนินต่อไปอย่างกว้างขวางขึ้น เพราะการแลกเปลี่ยความเห็นกันในเวทีสาธารณะเป็นเรื่องที่มีประโยชน์มาก”
“The ASEAN Secretariat will work closely with Malaysia on this,...This will be a long and arduous campaign and we need to be comprehensive and strategic in our approach,...If ASEAN can work together on this ambitious undertaking, our international prestige and profile will certainly be enhanced, and the confidence in ASEAN will definitely be increased,....The people will want to feel more ownership and identity of ASEAN, and be willing to participate more in ASEAN Community building efforts....The ASEAN Football Federation (AFF) and the other sports authorities within ASEAN will certainly play an important role in this Herculean task,...”
“สำนักเลขาธิการอาเซียนจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับมาเลเซียในเรื่องนี้....ซึ่งจะเป็นกระบวนการรณรงค์ที่เหน็ดเหนื่อยยาวนาน เราจำต้องทำงานอย่างละเอียดรอบคอบ มีแผนยุทธศาสตร์อย่างดีเนี่ยม...หากว่าอาเซียนสามรถทำโครงการที่เป็นความทะเยอทะยานสูงยิ่งนี้ร่วมกันได้ สถานภาพและเกียรติภูมิของเราในเวทีนานาชาติจะขยายเบ่งบานไปไกล และความมั่นใจในอาเซียนจะเพิ่มพูนมากขึ้นแน่นอน,...ประชาชนในอาเซียนจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของอาเซียนกันมากขึ้น รวมทั้งการร่วมอัตลักษณ์ของอาเซียนในหมู่พลเมืองในมิภาค ยังผลต่อเนื่องให้ร่วมมือกันสร้างประชาคมอาเซียนร่วมกันต่อไป...สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน (ASEAN Football Federation-AFF) และองค์กรกีฬาอื่นๆในอาเซียนจะมีทบาทสำคัญในการร่วมภารกิจอันยิ่งใหญ่มหึมานี้ร่วมกัน,...”
ในเรื่องการเตรียมความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพในด้านกายภาพ อาคารสถานที่ สนามแข่งขัน ระบบขนส่งมวลชน การคมนาคม การบริการครบวงจร การเงินและทรัพยากรอื่น ไม่ควรจะมีปัญหาใดๆ เพราะอาเซียนกำหนดแผนการสร้างประชาคมอาเซียนไว้ให้เสร็จสิ้นในปี 2015/2558 สิบห้าปีก่อนการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก (หากได้รับการคัดเลือกจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ – FIFA) การเป็นประชาคมอาเซียนที่สมบูรณ์หมายความว่าอาเซียนทั้งภูมิภาคจะเป็นเขตการค้าเสรี เป็นเขตเศรษฐกิจร่วมกันที่สมบูรณ์ การเดินทางท่องเที่ยว หรือทำธุรกิจการค้าต่างๆจะเป็นไปอย่างเสรีเสมือน 10 ประเทศอาเซียนเป็นเขตประเทศเดียวกัน ถนน ทางหลวง ทางรถไฟ (รถไฟธรรมดา และรถไฟความเร็วสูง) และการบิน การคมนาคมขนส่งตามแผนการเชื่อมโยงอาเซียน (ASEAN Master Plan on ASEAN Connectivity) จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว การเดินทางทุกรูปแบบจะสะดวกสบายปลอดภัยและรวดเร็ว ชาวอาเซียนด้วยกันเองจะสามารถเดินทางข้ามประเทศกันและกันได้โดยมีเพียงหนังสือเดินทางและไม่มีต้องทำวีซ่าหรือใบอนุญาตเข้าประเทศ ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาตินอกอาเซียนก็สามารถเดินทางมาอาเซียนโดยทำวีซ่าเข้าเมืองเพียงครั้งเดียว เข้าประเทศเดียวอย่างเป็นทางการ จากนั้นก็สามารถเดินทางไปประเทศอื่นๆในอาเซียนได้โดยไม่ต้องเสียเวลาหรือเสียเงินค่าธรรมเนียมไปทำวีซ่าแยกเข้าแต่ละประเทศเช่นที่ยังเป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะอาเซียนมีนโยบายทำให้อาเซียนทั้ง 10 ประเทศเป็นปลายทางเดียวกัน (One Destination) สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ดังนั้นเมื่อชาวต่างชาติเดินทางมาประเทศไทยโดยมีวีซ่าเข้าประเทศไทยประเทศเดียวก็สามารถที่จะใช้วีซ่าไทยเข้าประเทศอื่นอีก 9 ประเทศในอาเซียนได้ และเมื่อถึงเวลานั้น (ปี 2030) ติมอร์เลสเต ก็ควรจะได้รับการรับรองเป็นสมาชิกอาเซียนอีกประเทศหนึ่งและเป็นประเทศสุดท้ายแล้วด้วย ความเป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และความเป็นภูมิภาคอาเซียนจะมีความหมายเดียวกันสมบูรณ์ทุกประการในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ในเรื่องการเตรียมความพร้อมด้านคุณภาพและมาตรฐานฟุตบอลอาเซียoหากเตรียมการกันอย่างจริงจังตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยมีความตั้งใจแน่แท้ทางการเมืองและกระบวนการบริหารจัดการ เวลา 20 ปี ในการเตรียมการจะพอเพียง เริ่มตั้งแต่การสร้างนักกีฬาฟุตบอลชายให้มีสรีระร่างกายสูงใหญ่แข็งแรงขนาดมาตรฐานที่จะแข่งขันกันชาวยุโรป จีน ญี่ปุน และเกาหลีได้นั้น สามารถเริ่มทำได้เลยกับเด็กแรกเกิดในปีนี้เป็นต้นไป รวมถึงเยาวชนชายที่จะมีอายุในเกณฑ์ 20 ปีเศษในปี 2030 ที่จะเป็นนักฟุตบอลได้ การพัฒนาร่างกายชนเผ่าพันธุ์อาเซียนให้ได้ขนาดสูงใหญ่แข็งแรงต้องใช้วิชาการชีววิทยา และวิทยาศาสตร์หลายๆสาขา รวมทั้งวิทยาศาสตร์การกีฬา กระบวนการนี้ต้องทำในระดับชาติทุกชาติในอาเซียนและทำพร้อมกันในทั้งเด็กเกิดใหม่ทั้งเพศหญิงและชาย คู่ขนานกันไปเป็นเรื่องเทคนิคการเล่นฟุตบอลซึ่งอาศัยความสามารถเฉพาะตัว ความสามารถในการร่วมทีม ความสามารถของผู้ฝึกสอนและคณะผู้บริหารจัดการ รวมถึงวินัยในการเป็นนักกีฬา ซึ่งเรื่องเหล่านี้ไม่เกินความสามารถในการจัดการของผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการกีฬาอาเซียนเลยที่จะทำให้ทีมชาติ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน จะได้มีบางชาติเข้ารอบสุดท้ายแสดงฝีเท้าการเล่นให้สมมาตรฐานและให้ชาวอาเซียนทั้งมวลได้มาช่วยกันเชียร์จนถึงรอบท้ายสุด จะได้ตำแหน่งอะไรหรือไม่ก็ตาม แต่ก็เป็นไปได้ที่จะเป็นทีมฟุตบอลโลกจากอาเซียนชาติใดชาติหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งชาติแสดงผลงานให้ชาวโลกประทับใจอาเซียนมิได้หวังจะเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกเพื่อให้ทีมฟุตบอลอาเซียนได้เป็นผู้ชนะเป็นแชมป์ฟุตบอลโลก เพราะความฝันเช่นนี้จะเป็นความฝันที่ยาวนานกว่า 20 ปี แต่สิ่งที่อาเซียนหวังจะได้คือการประกาศความสำเร็จในการทำให้อาเซียนเป็นประชาคมเดียวกันได้ เป็นหนึ่งวิสัยทัศน์ (One Vision), หนึ่งอัตลักษณ์ (One Identity) และ หนึ่งประชาคม (One Community) การร่วมกันจัดงานใหญ่ระดับโลกในนาม 10 ประเทศร่วมภูมิภาค ในชื่อ “ASEAN” ชื่อเดียวกัน เป็นการประกาศความเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างสมบูรณ์ จะเป็นการสะท้อนให้เห็นความสามัคคีของชาติทั้งสิบให้ชาวโลกได้ประจักษ์ และให้ “พลเมืองอาเซียน” (ASEAN Citizens) ได้ร่วมจิตวิญญาณเป็นหนึ่งเดียวกัน หากอาเซียนวางแผนงานดีจนได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก สิ่งต่างๆที่กล่าวว่าเป็นผลดีของการสร้างประชาคมอาเซียนจะได้รับการกระตุ้นผลักดันและจัดการให้เสร็จลุล่วงเร็วกว่าที่คาดได้อีกด้วย ในระยะยาว อาเซียนก็จะอยู่บนเวทีโลกอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพอย่างถาวร แถมด้วยการมีประชาชนพลเมืองที่พัฒนาโครงสร้างร่างกายให้เจริญพันธุ์แข็งแรงโตใหญ่ในระดับมาตรฐานโลกอีกต่างหาก
สมเกียรติ อ่อนวิมล
21 มกราคม 2554
ที่มา : www.facebook.com/notes/...กับ-ฟุตบอลโลก/147172418674822
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น